วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

ประวัติความเป็นมาของวารสาร
วารสาร ตามลักษณะที่เป็นวารสารตามความหมายที่เข้าใจกันในปัจจุบัน เชื่อว่าพิมพ์ขึ้นครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า The Gentlemen's Magazine ในปี พ.ศ. 2274 ภายหลังที่อังกฤษมีหนังสือพิมพ์ถึง 56 ปี ส่วนในสหรัฐอเมริกามีวารสารครั้งแรก ใน พ.ศ.2284 ที่เมือง ฟิลาเดล เฟีย มีชื่อว่า American Magazine ซึ่งมีขึ้นภายหลังการเกิดหนังสือพิมพ์ในอเมริกาถึง15ปี(วราวุธผลานันต์2536:67-69)
ความเป็นมาของวารสารในประเทศไทย จากการศึกษาของ วีระวรรณ ประกอบผล พบว่า วารสารไทยมีความเป็นมาโดยสรุปดังนี้คือ(วีระวรรณประกอบผล2526:444หน้า)
1. วารสารไทยมีขึ้นครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2387 โดย แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกัน ชื่อ "Bangkok Recorder" และในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2401 ออกหนังสือ"ราชกิจจานุเบกษา" แต่วารสารในสมัยแรกเริ่มยังไม่มีลักษณะเป็นวารสารเท่าใดนัก และพิมพ์เผยแพร่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั้งพ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีวารสารไทยฉบับแรก ที่ออกโดยคนไทยคือ วารสาร ดรุโณวาท ออกโดยพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
2. จำนวนวารสารในสมัยต่างๆ มีดังนี้คือ สมัยรัชกาลที่ 3 มี 2 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 4 มี 8 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 5 มี 47 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 6 มี 127 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 7 มี 160 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 8 มี 92 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า1,200ฉบับ
3. ลักษณะของวารสารสมัยต่างๆ แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ของประเทศ วารสารในสมัยแรกๆ คือช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 วารสารมีลักษณะเป็นหนังสือเล่ม ขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเรียกว่าจดหมายเหตุ หรือหนังสือข่าว ซึ่งพวกนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นวารสารทั้งสิ้น กลุ่มที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ มีวารสารรายสัปดาห์จำนวนมากเรียกตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
4. วารสารสมัยแรกๆ เป็นกิจการของเจ้านายชั้นสูง ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่สามัญชนมากขึ้น จนกระทั้งถึงปัจจุบันมีวารสารที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการของสื่อสารมวลชนคือสื่อมวลชนมีจุดเริ่มต้นจากชนชั้นสูงพัฒนาไปเป็นสื่อสำหรับมวลชน และพัฒนามาเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะด้านมากขึ้น
5. อายุของวารสารในระยะแรก มักมีอายุไม่ยืนยาว วาสารบางประเภทที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น วารสารเด็ก วารสารผู้หญิง แต่ไม่ค่อยได้รับความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายได้แพร่หลาย ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 2 ปี วารสารต่างๆ เกิดขึ้นตามสภาพทางสังคม เช่น วาสารด้านบันเทิง เริ่มมีในปลายรัชกาลที่ 6 เพราะความนิยมในละครและภาพยนตร์
6. วารสารได้ขยายตัวเพิ่มปริมาณขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานด้านวารสารของเอกชนเป็นลักษณะของธุรกิจเต็มตัวมีการโฆษณาสินค้าจำนวนมาก
7. บทบาทหน้าที่ของวารสารไทยเปลี่ยนแปลง มา 3 ระยะคือ ระยะแรกมุ่งให้ความรู้และเพิ่มพูนสติปัญญาแก่ผู้อ่าน มีเรื่องบันเทิงและบริการทางธุรกิจเพียงเล็กน้อย ระยะที่สอง ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นการให้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ระยะที่สาม วารสารเป็นแนวให้ความบันเทิงเริงรมย์ จนถึงปัจจุบันมีลักษณะเป็นแหล่งสารสนเทศให้ความบันเทิงและให้ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3



Magazine Gallery มุมสำหรับคนรักนิตยสาร

ศูนย์กลางแหล่งความรู้และสร้างรากฐานที่มั่งคงส่งเสริมการรักการอ่านของ สังคมไทย
หลังจากที่สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2548 ด้วยวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดทำนิตยสารของไทยให้มีคุณภาพทัด เทียมกับต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 40 บริษัท โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานสัมมนาหรือการจัดนิทรรศการซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมา โดยตลอด

ล่าสุด สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย (The Magazine Association of Thailand : TMAT) ได้จัดแถลงข่าวเปิด โครงการ Magazine Gallery ศูนย์กลางแหล่งความรู้และสร้างรากฐานที่มั่งคงส่งเสริมการรักการอ่านให้เกิด ขึ้นในสังคมไทย พร้อมสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในวงการนิตยสารเมืองไทย โดยเนรมิตลานกว้างบนชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นศูนย์รวมนิตยสารมากกว่า 120 รายการในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งความรู้ของผู้รักการอ่าน โดยมี วิลักษณ์ โหลทอง เลขาธิการกิตติมศักดิ์ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย เปิดงาน และเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้-มิ.ย.2554

Magazine Gallery ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการแห่งความภาคภูมิใจที่ทางสมาคมได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญในการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้รับประโยชน์จากการอ่านนิตยสารในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแนว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนิสัยการรักการอ่านพร้อมทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์อีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การค้าสยามพารากอน, บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด (SCG), บริษัท สุนทรฟิล์ม จำกัด และบริษัท แอล จี อิเล็กทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด

พร้อมกันนั้นทางสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทยยังได้มอบรางวัลพิเศษ The Most Popular Magazine Cover ให้กับนายแบบและนางแบบที่ขึ้นปกนิตยสารและได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดระยะ เวลา 3 ปี นับตั้งแต่สมาคมจัดตั้งขึ้น โดยมี ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นายกสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย และประธานสหพันธ์นิตยสารแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่ฝ่ายหญิงซึ่ง ได้แก่ หมิว-ลลิตา ศศิประภา, พอลล่า เทย์เลอร์ และแพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ นอกจากนี้ ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ยังขึ้นมอบรางวัลฝ่ายชาย ซึ่งได้แก่ เคน-ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์, อั้ม-อธิชาติ ชุมนานนท์ และมาริโอ้ เมาเร่อ

สำหรับผู้สนใจโครงการ Magazine Gallery นอกจากจะได้รับความรู้จากการอ่านนิตยสารแล้วยังได้รับสาระและความบันเทิงจาก กิจกรรมต่างๆ ที่ทางผู้ผลิตนิตยสารจัดขึ้น อาทิเช่น การเปิดตัวนิตยสาร หนังสือ พอคเก็ตบุ๊คเล่มใหม่ และการพูดคุยกับนักเขียนชื่อดังของเมืองไทย รวมถึงการเข้าไปหาความบันเทิงจากนิตยสารจำนวนนับร้อยหัว เป็นต้น
Magazine Gallery จะกลายเป็นสถานที่เชื่อมโยงและเป็นจุดนัดพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ก่อให้เกิดมุมมอง ความคิดสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดีในการเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งจะพัฒนาในเยาวชนคนรุ่นใหม่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพในอนาคต พร้อมกันนั้นทางสมาคมยังเชื่อมั่นว่าโครงการ Magazine Gallery จะได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ผู้สนใจสามารถเข้าชมโครงการ Magazine Gallery ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 บริเวณลานกว้างหน้าร้าน ASIA BOOKS ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดให้เข้าชมและใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2552-มิ.ย.2554
ที่มา ARTgazine Articles

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ 2

ความหมายของMagazine
ความหมายของนิตยสาร นิตยสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่มีการกำหนดออกที่แน่นอน ภายในเล่มมีการบรรจุเนื้อหาที่มีความหลากหลายในแง่รายละเอียด และวิธีการเขียน ซึ่งนิตยสารแต่ละฉบับยังมีส่วนผสมของงานเขียนที่มีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละฉบับอีกด้วย

ประเภทของนิตยสาร การจัดแบ่งประเภทของนิตยสารอาจแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ นิตยสารที่ออกโดยเอกชน หรือบริษัทธุรกิจการพิมพ์ต่าง ๆ และนิตยสารที่ออกโดยหน่วยราชการสมาคมวิชาชีพหรือสถาบัน ที่มิได้มุ่งผู้อ่านทั่วไป

1. นิตยสารที่ออกโดยเอกชน หรือบริษัทธุรกิจการพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนิตยสารเพื่อผู้บริโภคโดยทั่วไป (Consumer Magazines) ทำขึ้นเพื่อจัดจำหน่ายโดยทำเป็นธุรกิจที่หวังผลกำไร มีการหารายได้จากการรับลงโฆษณาเป็นหลัก

2. นิตยสารที่ออกโดยหน่วยราชการสมาคมวิชาชีพ หรือสถาบันที่มิได้มุ่งผู้อ่านทั่วไป นิตยสารหรืออาจเรียกตามความนิยมว่า “วารสาร” ประเภทนี้ อาจมีวิธีการเผยแพร่โดยการให้เปล่าหรือจะใช้วิธีขายก็ได้ เป็นนิตยสารที่มุ่งกลุ่มผู้อ่านเฉพาะ

1. นิตยสารเพื่อผู้บริโภค (Consumer Magazines)นิตยสารเพื่อผู้บริโภคสามารถแบ่งหมวดหมู่ย่อย ๆ โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ คือ วัตถุประสงค์ของนิตยสาร แนวเนื้อหา และกลุ่มผู้อ่านได้

2. นิตยสารหรือวารสาร ที่ออกโดยหน่วยราชการ สมาคมวิชาชีพ และสถาบันต่างๆ นิตยสารกลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดย่อย ๆ ดังนี้

2.1 นิตยสารหรือวารสารที่ออกโดยหน่วยราชการ คณะกรรมการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น นิตยสาร “พระสยาม” ของธนาคารแห่งประเทศไทย

2.2 นิตยสารหรือวารสารวิชาการ / กึ่งวิชาการ ซึ่งจัดทำโดยสมาคม องค์กรสถาบันการศึกษา กลุ่มหรือบริษัทต่างๆที่มุ่งผู้อ่านเฉพาะ เช่น “วารสารคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ” ของ ยูเนสโก

2.3 นิตยสารหรือวารสารที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท ห้างร้าน หรือสมาคมต่าง ๆ เป็นนิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ เช่น วารสาร “บ้านฟ้า” ของบริษัท เอ็น ซี กรุ๊ป

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1

อี แมกกาซีน คืออะไร ?
e-Magazine คือแมกกาซีน หรือนิตยสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับ e-Book ที่คุณสามารถเปิดอ่านจากคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS X และ Linux

จุดเด่นของ e-Magazine คือการออกแบบมาให้แสดงเนื้อหาต่างๆ ได้คล้ายคลึงกับการอ่านนิตยสารที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม ทั้งตัวอักษร, ข้อความ,และรูปภาพ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงหรืออาจจะมีภาพเคลื่อนไหว หรือวีดีโออยู่ในแมกกาซีนเหล่านั้นด้วย สำหรับการเปิดหน้าหรือเลื่อนหน้า ด้วยเทคโนโลยีจิตอลอันทันสมัย e-Magazine ทำให้ท่านเปิดหน้าในรูปแบบ 3D จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของท่านได้เสมือนหนึ่งท่านกำลังเปิดหนังสืออยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีเครื่องมือต่าง ๆที่ช่วยคุณภายในแมกกาซีนอีกด้วย เช่น ค้นหาข้อมูลจากเนื้อหาภายในเล่ม และสามารถเลื่อนไปยังหน้าที่ต้องการอ่านได้ทันที สามารถย่อขยายการแสดงผลทั้งตัวอักษรและภาพ เพื่อให้อ่านได้ง่าย และสบายตาขึ้น สามารถกำหนด URLs ให้คลิกเพื่อเปิดไปหน้าเว็บเพจต่างๆ เช่นเว็บไซต์ที่เกี่ยงข้องกับเนื้อหา ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ของผู้ให้การสนับสนุน รวมถึงการพิมพ์หน้าที่ต้องการได้อีกด้วย

ไม่ เพียงเท่านั้น ภายในตัว e-Magazine ยังมาพร้อมกับความสามารถในการแนะนำ e-Magzine แก่บุคคลอื่นๆ เช่น เพื่อน ญาติพี่น้อง องค์กร จากบุคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย ผ่านช่องทางที่เตรียมไว้ให้ในตัวอี แมกกาซีน เช่นการส่งผ่านอีเมล, การนำข้อมูลไปแสดงในบล็อก, การส่งผ่านแมสเซส การแนะนำผ่าน Social, Bookmark ฯลฯ ช่วยให้ e-Magazine กระจายไปยังผู้อ่านทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ