วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10

วารสารวิชาการ
วารสารวิชาการ  หมายถึงวารสารที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสมำเสมอและจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เรียกวารสารประเภทนี้เป็นการเฉพาะว่าวารสารผ่านการทบทวน (peer-reviewed periodical) วารสารวิชาการเป็นเวทีสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อรับการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้รู้ด้วยกัน ปกติเนื้อหาสาระในวารสารจะอยู่ในรูปของบทความเสนอ งานวิจัยที่มีความเริ่มแรก บทปริทัศน์ และการวิจารณ์หนังสือ งานตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพที่ไม่มีการตรวจรับคุณภาพเรียกโดยทั่วไปว่า นิตยสารวิชาชีพ (professional magazine)

คำ วารสารวิชาการ ใช้กับสิ่งตีพิมพ์วิชาการทุกสาขา วารสารเหล่านี้อภิปรายถึงแง่มุมต่างๆ ในเชิงวิชาการของสาขานั้นๆ
ในวงวิชาการ นักวิชาการและนักวิชาชีพจะยื่นเสนอบทความของตนที่ไม่ได้รับการเชื้อเชิญโดยตรงจากบรรณาธิการ เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เมื่อได้รับต้นฉบับบทความแล้ว บรรณาธิการหรือคณะบรรณาธิการจะพิจารณาตรวจบทความว่าสมควรรับหรือไม่รับไว้ในทันทีก็ได้ หรืออาจเริ่มกระบวนการตรวจแก้คุณภาพโดยผู้รู้ในสาขาวิชา ในกรณีหลัง บทความยื่นเสนอจะกลายเป็นเอกสารลับที่ปกปิดชื่อผู้เขียนเพื่อดำเนิน การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน (peer-review) ซึ่งเป็นบุคคลผู้รู้ภายนอกที่บรรณาธิการเป็นผู้เลือก จำนวนผู้ตรวจแก้ หรือ "กรรมการ" ผู้ตรวจแก้ไม่ตายตัว โดยทั่วไปมีจำนวน 3 คน แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2 คน บรรณาธิการอาศัยความเห็นของคณะผู้ตรวจแก้เป็นเครื่องตัดสินว่าบทความที่บุคคลผู้นั้นเสนอมาสมควรได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ (ดูกระบวนการนี้ในบทความหลักเรื่อง "การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน")

ในบางกรณี บทความที่ผ่านการตรวจแก้และได้รับการยอมรับให้ลงพิมพ์ได้ยังต้องผ่านขั้นตอนการตรวจแก้อย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่งโดยคณะบรรณาธิการก่อนส่งแท่นพิมพ์ เนื่องจากกระบวนการตรวจแก้และยอมรับบทความใช้เวลายาวนาน บทความที่เสนอและได้รับการตีพิมพ์จึงใช้เวลานานนับเดือน หรืออาจถึงปีนับจากวันที่ บรรณาธิการได้รับบทความ
กระบวนการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันนับเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผลงานวิจัยและความรู้ใหม่ในสาขาวิชานั้นๆ นักปราชญ์หรือผู้รู้ย่อมเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งเฉพาะในสาขาวิชาของตน ดังนั้น นักวิชาการจึงต้องอาศัยวารสารวิชาการที่ผ่านกระบวนการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันเท่านั้นเพื่อเป็นการพิสูจน์ความถูกต้อง สร้างความเชื่อถือและความเลื่อมใสให้เกิดแก่งานวิจัยนั้นๆ และความรู้ใหม่ นอกจากนี้ วารสารวิชาการยังช่วยสร้างความต่อเนื่องหรือการต่อยอดสืบจากงานค้นคว้าวิจัยหรือความรู้ใหม่จากบุคคลในวงวิชาการนั้นๆ ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย

(The Magazine Association of Thailand: TMAT)
สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 โดยการนำของคณะผู้ก่อตั้ง คือ
คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคม
คุณพรรทิภา สกุลชัย ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสมาคม
คุณศักดิ์ชัย กาย ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสมาคม
คุณหญิงสุวิมล ผึ่งประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณศุภกรณ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณเอกสิทธิ์ โชติภักดีตระกูล ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณสันติ ส่งเสริมสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณสุทธิศักดิ์ โล่สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณลายคราม เลิศวิทยาประสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณเสก ตันจำรัส ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณฤทธิ์ณรงค์ กุลประสูตร ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณฐิติกร ธีรพัฒนวงศ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณชเยนทร์ คำนวณ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณศิริพงษ์ ว่องวุฒิพรชัย ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณศรินธร จันทรประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง กรรมการ
คุณสุภาวดี โกมารทัต ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเหรัญญิก
คุณวิลักษณ์ โหลทอง ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขาธิการ

ด้วยวิสัยทัศน์ของเหล่านักบริหารผู้ก่อตั้ง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดทำนิตยสารให้มีคุณภาพสูง และกว้างขวางยิ่งขึ้น สมาคมฯ จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเป็นศูนย์กลางประสานงาน และติดต่อกับสมาคม องค์กร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนิตยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ให้มีความสอดคล้อง กับความต้องการของตลาด โดยไม่ดำเนินการทางการค้า หรือเกี่ยวข้องกับการเมือง

นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมอันมีประโยชน์ทางวิชาชีพแก่สมาชิก ให้คำปรึกษาทางธุรกิจด้านการซื้อขายลิขสิทธิ์ การจัดจำหน่ายนิตยสารกับต่างประเทศ ให้บริการแก่สังคมด้านสารประโยชน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในทุกระดับอายุ ทั้งยังรณรงค์ให้ผู้จัดทำนิตยสารมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข้อมูลต่อสังคม ที่สำคัญ สมาคมฯ คือตัวแทนในการนำเสนอความคิดเห็น หรือยื่นเรื่องราวต่อทางราชการ องค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนิตยสารโดยรวม โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือสมาชิกในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบัน สมาคมฯ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 42 บริษัท นับเป็นผู้ผลิตนิตยสารรวมกว่า 150 ปก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2550)

ก้าวสำคัญ...สู่ความเป็นสากล
สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของ สมาคมนิตยสารโลก (Federation Internationale de la Presse Periodiques ,FIPP) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม พัฒนา ช่วยเหลือและประสานงาน ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตนิตยสารระดับโลก ซึ่งปัจจุบัน มีสมาชิกกว่า 700 ราย ทั่วโลก (www.fipp.com)

คณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์และคณะกรรมการ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย
คุณปกรณ์ พงศ์วราภา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณระวิ โหลทอง ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณสุภาวดี โกมารทัต ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณวิทวัส ชัยปราณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นายกสมาคม
คุณพรรทิภา สกุลชัย อุปนายก
คุณศักดิ์ชัย กาย อุปนายก
คุณหญิงสุวิมล ผึ่งประเสริฐ กรรมการ
คุณศุภกรณ์ เวชชาชีวะ กรรมการ
คุณเอกสิทธิ์ โชติภักดีตระกูล กรรมการ
คุณสันติ ส่งเสริมสวัสดิ์ กรรมการ
คุณสุทธิศักดิ์ โล่สวัสดิ์ กรรมการ
คุณลายคราม เลิศวิทยาประสิทธิ์ กรรมการ
คุณเสก ตันจำรัส กรรมการ
คุณฤทธิ์ณรงค์ กุลประสูตร กรรมการ
คุณฐิติกร ธีรพัฒนวงศ์ กรรมการ
คุณชเยนทร์ คำนวณ กรรมการ
คุณสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กรรมการ
คุณศรินธร จันทรประเสริฐ กรรมการ
คุณพิมรา อินทรวิทยนันท์ กรรมการ
คุณระริน อุทกะพันธุ์ กรรมการและเหรัญญิก
คุณวิลักษณ์ โหลทอง กรรมการและเลขาธิการ

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

Magazines in Thailand

    นิตยสารคอนเนค นิตยสารวัยรุ่น นิตยสารที่รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวัยรุ่น นักศึกษา และความบันเทิง มีหัวข้อ Cover Story,Life Style, Job for you,Education,Art & Culture,Health,Environment,diary

   นิตยสารแมกกาซีนออนไลน์ วางแผงทุก 45 วัน บนอินเตอร์เน็ตเท่านั้น มีColumn fashion , entertain , design New Megazine online for you style

   นิตยสาร FHM ไทยแลนด์ บทความแนวเซ็กซี่ สดใส ของดาราสาวสวย ในเมืองไทย คอลัมน์ต่างๆ หลากสไตล์ เฮฮา ลึกลับ อื่นๆอีกมากมายในเวบไซต์ ราคาเล่มละประมาณ 80 บาท FHM for him magazine thai edition

   เอนจอย นิตยสารออนไลน์สำหรับวัยทีน หลากหลายคอลัมม์น่าสนใจ แฟชั่น บทสัมภาษณ์ ท่องเที่ยว รักษาความงาม การป้องกันตัว เรื่องสั้น ดารานักร้องต่างประเทศ บทความจากมุมมองของนักเขียน วิธีทำของว่างง่ายๆ มีเวบบอร์ดแลกเปลี่ยนความเห็น Column เกี่ยวกับ FASHION,TRAVEL,STORY,BEAUTY MORE,COOKING,STAR STYLE,BEWARE

   สกุลไทย นิตยสารรายสัปดาห์ ราคา 50 บาท สมาชิกรายปี 500 บาท เพื่อสาระบันเทิงสำหรับครอบครัว พบกับคอลัมน์ต่างๆ เช่นภูมิปัญญาไทย ห้องสมุดภาษาไทย ภาพและข่าว สัมภาษณ์ นวนิยายและเรื่องสั้น พ็อกเก็ตบุ๊กส์ สารคดีและบทความ บทกวีเด็กและเยาวชน งานฝีมือ แฟชั่น บันเทิง ปกิณกะ สาร ครอบครัว สิ่งแวดล้อม

   ออล โฟร์ไทย ดอท คอม ทุกสิ่งเพื่อเธอ แมกาซีนออนไลน์ภาษาไทย ที่อ่านได้ทุกเพศ ทั้งหญิง ผู้ชาย เกย์ ทอม ดี้ เลสเบี้ยน โดยรวมเรื่องราว และสาระ มาฝาก เช่น เพลง ภาพยนตร์ ท่องเที่ยว หนังสือ เด็ก ผู้ใหญ่ เซ็กส์ (ความรู้) Megazine online all-4-thai.com Column travel , women , friends , movie - music , shopping , sex , chat , book , pets

   สุดสัปดาห์ นิตยสารรายปักษ์ วางแผงทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ราคา 70 บาท นิตยสารเพื่อคนรุ่นใหม่ วัยรุ่น วัยสดใส ใช้ชีวิตสนุกสนานแต่มีแก่นสารสาระ ก้าวตามแฟชั่นและทันกระแสโลก เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่บทสัมภาษณ์ ไลฟ์สไตล์ สกู๊ปพิเศษในทุกฉบับที่ไม่ควรพลาด ตั้งแต่กิน เที่ยว ดูหนัง- ฟังเพลง อ่านหนังสือ และสาระบันเทิงต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องน่ารู้จากต่างประเทศ และเคล็ดลับต่าง ๆ ที่จะทำให้คุณเป็นสาวทันสมัย ไม่ไร้สาระ พร้อมก้าวสู่การเป็น generation ที่มีคุณภาพต่อไป

    คู่สร้างคู่สม นิตยสารรายปักษ์ของคนไทย ราคาเล่มละ 25 บาท แนะนำคอลัมน์ประจำ เรื่องเด่นประจำฉบับ ถาม-ตอบปัญหา สารพันความคิดเห็น โครงการและกิจกรรมของคู่สร้าง-คู่สม

   นิตยสารบ้านและสวน นิตยสารบ้านและสวน นิตยสารรายเดือนวางแผงทุกวันที่ 7 ของเดือน ราคา 90 บาท นิตยสารสำหรับคนรักบ้านที่อยู่เคียงคู่กับสังคมไทยมายาวนาน เปรียบเสมือนคู่มือที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับบ้าน การตกแต่งบ้าน การจัดสวน ไม้ประดับ และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน รวมทั้งรูปแบบงานดีไซน์สมัยใหม่ในหลากหลายสไตล์ แวดวงศิลปะและศิลปะพื้นบ้าน ผสมผสานกับเทคนิคและความรู้ทางสถาปัตยกรรมต่างๆไม่ว่าจะสร้างบ้านใหม่ ซ่อมแซมบ้านเดิม หรือตกแต่งบ้านเพิ่ม บ้านและสวนมีทุกคำตอบให้คุณ

   ชีวจิต นิตยสารรายปักษ์ วางแผงทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ราคา 50 บาท นิตยสารเพื่อสุขภาพที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย ที่มุ่งเผยแพร่และเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้เรื่องสุขภาพ ทั้งการดูแล ป้องกัน ฟื้นฟู และการบำบัดโรคยามเจ็บป่วย โดยยึดหลักการแพทย์แบบองค์รวม (Holistic) คือ พิจารณาทั้งกายใจ และสังคมหรือสภาพแวดล้อม เป็นกรอบในการนำเสนอโดยผ่านบุคลิกของหนังสือที่ดูทันสมัย มีชีวิตชีวา มีอารมณ์ขัน และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมชาติ ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งตัวคุณเองและคนที่คุณรักและห่วงใย

   ขวัญเรือน เป็นนิตยสารรายปักษ์ ที่นำเสนอความหลากหลายของแฟชั่น ความบันเทิง บทความ-บทสัมภาษณ์ งานฝีมือ ผู้รักสุภาพ รักสวยรักงาม และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว

   อิมเมจ เวบไซต์ของนิตยสารอิมเมจซึ่งได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆไว้มากมาย มีทั้งเรื่องความสวยความงาม แต่งหน้า สีผม สุขภาพ สัมภาษณ์ดารา และดูดวง

   หญิงไทย นิตยสารรายปักษ์ ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงเก่งในหลาย ๆ ด้าน เสนอความบันเทิง มากมาย บทสัมภาษณ์คนดัง แนะนำสถานที่เที่ยว อัตราค่าสมาชิกภายในประเทศ 1 ปี (24 ฉบับ) เป็นเงิน 960 บาท

    นิตยสารเดอะบอย นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวของวงการบันเทิงทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของคนวงการเพลง วงการภาพยนตร์ แฟชั่นต่าง ๆนอกจากนี้ยังมีสาระเกี่ยวกับความสวย ความงาม รวมถึงบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งาน E-journal

http://www.mediafire.com/?383xy2guvnyorj4

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

ประเภทของนิตยสาร (Magazine)มี2ประเภท

คือนิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine) และผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)


นิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine)คือ
นิตยสารข่าว (New Magazine)

   เป็นนิตยสารที่นำเสนอเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับข่าวทั่วๆไป เช่นนำเสนอเบื้องหลังข่าว บทวิเคราะห์ข่าว บทสัมภาษณ์บุคคลในข่าว เป็นต้น จะมีเนื้อหาด้านอื่นบ้าง เช่น ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม ก็เป็นเพียงประกอบเข้ามาเพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
   ตัวอย่างนิตยสารข่าวได้แก่ มติชนสุดสัปดาห์ เนชั่นสุดสัปดาห์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เป็นต้น

นิตยสารสำหรับครอบครัว (Family Magazine)
   เป็นนิตยสารเพื่อครอบครัว มีบทความเกี่ยวกับการมีชีวิตในครอบครัวให้มีความสุข มีบทความเสริมความงาม การทำครัว งานอดิเรก กีฬา การ์ตูน ตอบปัญหา ดาราภาพยนตร์ นักร้อง เป็นต้น ลักษณะเด่นที่สามารถแบ่งนิตยสารสำหรับครอบครัวออกจากนิตยสารสตรีก็คือ จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่เด็กและพ่อบ้านอ่านได้ด้วยในเล่มเดียวกัน กล่าวคือ อ่านกันได้ทั้งครอบครัว ตัวอย่างนิตยสารสำหรับครอบครัว ได้แก่ รักลูก แม่และเด็ก ดวงใจพ่อแม่ และ Life Family


นิตยสารสำหรับสตรี (Women Magazine)
   เป็นนิตยสารสำหรับผู้หญิงทุกกลุ่มทุกอาชีพในเล่มจะประกอบด้วย ภาพ นวนิยาย เรื่องสั้น แฟชั่น ตำราอาหาร เป็นต้น นิตยสารสำหรับสตรีจัดเป็นนิตยสารที่ม ีจำนวนชื่อฉบับมาก ที่สุด ในตลาดนิตยสารไทยในปัจจุบันนี้ตัวอย่างนิตยสารสำหรับสตร ี ได้แก่ คุณหญิง ผู้หญิง ดิฉัน พลอยแกมเพชร สกุลไทยแพรวสุดสัปดาห์ เปรียว กุลสตรี ขวัญเรือน แม่บ้าน และศรีสยาม เป็นต้น


นิตยสารสำหรับเด็ก (Children Magazine)
    เป็นนิตยสารสำหรับเด็กๆทั่วไป ประกอบด้วยเรื่องเกร็ดความรู้ เรื่องตลก นิทาน กีฬา เป็นต้นตัวอย่างนิตยสารสำหรับเด็ก ได้แก่ เสียงเด็ก สวนเด็ก ชัยพฤกษ์การ์ตูน เป็นต้น


ผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)
นิตยสารการเมือง (Political Magazine)


   เป็นนิตยสารเจาะลึกทางด้านการเมือง มีบทวิเคราะห์ หรือรายงานพิเศษ (Scoop) ที่เจาะลึกทางการเมืองมากกว่านิตยสารข่าว ตัวอย่างนิตยสารทางการเมือง เช่น มติชนสุดสัปดาห์ เนชั่นสุดสัปดาห์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ หลักไท และอาทิตย์วิเคราะห์ เป็นต้น


นิตยสารแฟน (Fan Magazine)
   เป็นนิตยสารสำหรับแฟนทางกีฬา ทางบันเทิง ทางภาพยนตร์ หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง ตัวอย่างของนิตยสารแฟนในไทย เช่น "RS Star" ของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด ที่แจกจ่ายให้กับสมาชิกของอาร์เอส สตาร์ คลับ
   ความหมายของคำว่า "แฟน" มาจากภาษาอังกฤษ ว่า "Fatanic" หมายถึง คนที่คลั่งไคล้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ นิตยสารแฟนมักจัดพิมพ์ขึ้นและเผยแพร่ไปยังกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายที่เรียกว่า "แฟนคลับ"(Fan Club) เช่น นักร้อง นักแสดง นักกีฬา เป็นต้น นิตยสารแฟนมักนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวบุคคลมากกว่าเนื้อหาสาระอื่นๆในวงการนั้นๆ


นิตยสารงานอดิเรก (Hobbies and Pastime Magazine)
  นิตยสารพวกนี้ออกมาเพื่อผู้อ่านเฉพาะกลุ่มที่ชอบงานอดิเรกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นนิตยสารที่เพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในระหว่างกลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้แก่ นิตยสารเกี่ยวกับแสตมป เล่นเรือใบ ทำสวน ถ่ายภาพ รถจักรยานยนต์ และสร้างวิทยุ เป็นต้น นิตยสารที่ให้สาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นิตยสาร Update เป็นต้น


นิตยสารอาชีพ (Trade and Professional Magazine)
    นิตยสารอาชีพมีความแตกต่างจากนิตยสารงานอดิเรก เช่น นิตยสารเกี่ยวกับรถยนต์ ถ้าเป็นนิตยสารอาชีพก็จะกล่าวถึงอุตสาหกรรมสร้างรถยนต์ แต่ถ้าเป็นนิตยสารงานอดิเรกจะแนะนำผู้เล่นรถยนต์ให้รู้จักการรักษารถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างรถยนต์หรือซ่อมรถยนต์ ตลอดจนผู้ขายรถยนต์

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

นิตยสาร
นิตยสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ หรือรายประจำที่ไม่ใช่รายวัน มีการเย็บเล่มใช้ปกอ่อนกระดาษปกมักจะมีคุณภาพและความคงทนต่อการใช้งานมากกว่ากระดาษเนื้อในเนื้อหาภายในเล่มมีควาหลากหลายให้ความรู้ทางวิชาการและบันเทิงใช้สีสันและภาพประกอบเป็นจำนวนมากมีโฆษณาภายในฉบับการออกแบบจัดหน้านิตยสารจะใช้ความพิถีพิถันในการจัดทำมากกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น โดยนิยมใช้สีสันและภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจและเร้าอารมณ์ของผู้พบเห็น
นิตยสารมีรายได้หลักจากการโฆษณาและการจัดจำหน่ายการจัดทำจะเน้นผลการค้าเป็นสำคัญ
ความเป็นมาของนิตยสาร
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" นั้นโดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ "วารสาร " มีความหมายที่กว้างกว่า
เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน
นิตยสารทุกเล่ม จะต้องขออนุญาตจัดพิมพ์จากทางราชการ และได้รับหมายเลขสากลประจำนิตยสาร เรียกว่า ISSN (International Standard Serial Number) ซึ่งนิตยสารจะตีพิมพ์ไว้ในส่วนที่เห็นชัดของเล่ม เช่น ปกหน้า สารบัญ สันปก หรือปกหลัง
นิตยสารแต่ละชื่อ จะมีแนวเนื้อหาเฉพาะของตนเอง เช่น แนวศิลปะ บันเทิง แฟชั่น รถยนต์ ท่องเที่ยว เป็นต้น การเขียนบทความในนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม
นิตยสารฉบับแรกของคนไทย
นิตยสารฉบับแรกของคนไทย นั้นคือ ดรุโณวาท ของพระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ ออกในระหว่างปี พ.ศ. 2411 -2418 เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชการบ้าง เรื่องต่างประเทศบ้างมีสุภาษิตสอนใจ บทกวี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทละคร นิทาน รวมทั้งแจ้งความโฆษณาสินค้าด้วย


ประเภทของนิตยสาร

การแบ่งประเภทนิตยสารตามลักษณะเนื้อหาที่เน้นการนำเสนอและผู้อ่านให้ความสนใจการแบ่งในลักษณะนี้มักแบ่ง แยกย่อยเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ นิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine) และผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

่ลักษณะของวารสาร
จากความหมายดังกล่าว วารสาร จึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องตามกำหนดหรือ ออกตามวาระ สามารถนำมาพิจารณากำหนดเป็นลักษณะของวารสารได้ดังนี้
1. เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Periodical or Serial) มีกำหนดเวลาออก แน่นอนระยะเวลาที่นิยมกำหนดออก เช่น (วราวุธผลานันต์2536:5-6)
-รายสัปดาห์(Weekly)กำหนดออกสัปดาห์ละครั้งปีละ52ฉบับ
-รายปักษ์(Fortnightly)กำหนดออกทุก2สัปดาห์ปีละ26ฉบับ
-รายครึ่งเดือน(Semimonthly)กำหนดออกเดือนละ2ครั้งปีละ24ฉบับ
-รายเดือน(monthly)กำหนดออกเดือนละครั้งปีละ12ฉบับ
-รายหกเดือนหรือรายครึ่งปี(Semiannually)กำหนดออกทุก6เดือน
-รายปี(Annually)กำหนดออกปีละฉบับ
นอกจากนี้บางฉบับอาจมีการกำหนดระยะเวลาออกที่แตกต่างออกไปจากที่กล่าวมาแล้วเช่นรายครึ่งสัปดาห์ (Semiweekly) กำหนดออกสัปดาห์ละ 2 ฉบับ ปีละ 104 ฉบับ รายทศกำหนดออกทุก 10 วัน ปีละ 36 ฉบับ และรายสะดวกมีกำหนดออกไม่แน่นอนลักษณะความต่อเนื่องของวารสารไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงในฉบับใด
2. มีเลขกำกับประจำฉบับ ได้แก่ เลขปีที่ (Volume) เลขฉบับที่ ( Issue Number) และวัน เดือน ปี (Date) การนับลำดับฉบับที่อาจนับเป็นปีๆ เช่น วารสารรายเดือน แต่ละปีจะมีตั้งแต่ฉบับที่ 1-12 หรืออาจนับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่นวารสารรายเดือน ฉบับแรกของปีที่ 2 ก็นับเป็นฉบับที่ 13 นอกจากเลขปีที่ ฉบับที่ และวันเดือนปี ซึ่งเป็นเลขที่ต้องต่อเนื่องเป็นลำดับกันไปแล้วยังมีเลขอีกชุดหนึ่งเป็นเลขเฉพาะที่แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงถือเป็นรหัสประจำวารสารแต่ละชื่อ เพื่อการควบคุมทางบรรณานุกรม ในระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ เรียกว่า เลขสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number-ISSN) ซึ่งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับสากล มอบให้ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติ ประจำประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นผู้กำหนดให้แก่วารสารแต่ละชื่อในประเทศของตน สำหรับประเทศไทยมีหอสมุดแห่งชาติ เป็นศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดวารสารแต่ละชื่อให้ได้รับหมายเลขสากลประจำวารสาร และจะต้องพิมพ์ไว้ที่หน้าปกหรือหน้าปกใน หรือสันวารสารใกล้ ๆ กับชื่อวารสาร มีอักษร ISSN ตามด้วยเลข อารบิค 8 ตัว มีเครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่าง เลข 4ตัวแรกกับเลข4ตัวหลังเช่นวารสารซีเนแม็กISSN0858-9305
3. รูปเล่ม มักทำให้มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกันทุกฉบับ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตและจำได้ง่าย เช่น ขนาดความกว้างยาวรูปแบบและสีของตัวอักษรชื่อวารสารที่หน้าปกและสัญลักษณ์ประจำวารสาร
4. เนื้อหา ประกอบด้วยบทความหลายบทความ จากผู้เขียนหลาย ๆ คน ถ้าเป็นวารสารมักจะเป็นวิชาการเฉพาะแขนงวิชา ถ้าเป็นนิตยสารมักจะมีบทความทั่ว ๆ ไป สารคดี หรือบันเทิง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ลงติดต่อกันเป็นหลายๆ มีคอลัมน์บรรณาธิการ คอลัมน์ประจำ วารสารบางชื่อเนื้อหาอาจเป็นรูปภาพ เป็นบทวิจารณ์ สรุปข่าวและวิเคราะห์เหตุการณ์บ้านเมืองฯลฯทั้งนี้เป็นไปตามประเภทและวัตุประสงค์ของวารสารแต่ละฉบับ
5. ผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์วารสารอาจเป็นเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบัน องค์การ สมาคม ชมรม โดยมีวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ประชา-สัมพันธ์หน่วยงาน ให้ความบันเทิง ความรู้ทั่วไปหรือเพื่อธุรกิจการค้าเป็นต้น
6. การเผยแพร่ มีทั้งการจำหน่ายและแจกฟรี การจำหน่ายอาจวางจำหน่ายตามร้านขายหนังสือ การให้ผู้อ่านบอกรับเป็นสมาชิกประจำค่าวารสารล่วงหน้าแล้วผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ส่งวารสารไปให้สมาชิก
คำศัพท์ที่นิยมใช้เรียกวารสารในลักษณะต่างๆ รวบรวมได้ 9 คำ ดังนี้ ( วราวุธ ผลานันต์ 2536 : 7-8)
1.Periodicalเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทุกชนิดทุกประเภท
2.Serialหมายถึงสิ่งพิมพ์เข้าชุดหนังสือเข้าชุด
3.Journalหมายถึงวารสารที่สถาบันองค์กรสมาคมหรือหน่วยงานทางวิชาการจัดพิมพ์ขึ้น
4.Magazineหมายถึงวารสารทั่วไป
5.Bulletinหมายถึงวารสารของหน่วยงานราชการหรือเอกชน
6.Gazetteหมายถึงวารสารทางราชการ
7.Proceedingเป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมเรื่องราวและผลการศึกษา
8.Transactionหมายถึงสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมบทความสุนทรพจน์สาระสังเขปของบทความทางวิชาการ
9.AnnualorAnnalหมายถึงวารสารรายปี
ประเภทของวารสาร
1.แบ่งตามแหล่งที่ออกวารสาร(สมาคม)
1.1วารสารสมาคมและสถาบันวิชาการและวิชาชีพ
1.2วารสารประชาสัมพันธ์(HouseJournal)
-วารสารประชาสัมพันธ์ภายนอกหน่วยงาน
-วารสารประชาสัมพันธ์ภายใน
1.3วารสารของหน่วยงานเอกชนซึ่งพิมพ์เพื่อการค้า
-วารสารซึ่งลงข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลต้นเรื่องพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ทางการค้า
-วารสารเทคนิคและการค้า
-วารสารซึ่งควบคุมยอดจำหน่าย
2.แบ่งตามลักษณะของผู้อ่าน
-วารสารสำหรับอ่านทั่วไป
-วารสารสำหรับอ่านเฉพาะกลุ่ม
3.แบ่งตามข้อมูลตามวารสาร
-วารสารซึ่งลงข้อมูลต้นเรื่อง
-วารสารซึ่งลงข้อมูลรอง
4.แบ่งตามกลุ่มวิชาใหญ่ๆ
5.แบ่งตามกำหนดออก
นอกจากนี้หากจะแบ่งประเภทวารสารทั่วไปอย่างคร่าวๆสามารถแบ่งออกได้3ประเภทคือ
1.วารสารวิชาการ
2.วารสารกึ่งวิชาการ
3.วารสารบันเทิง

วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ลักษณะเนื้อหาแตกต่างจากสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆคือ
มีเนื้อหา หลายลักษณะ หลายเรื่องรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน การจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาในวารสาร มีผู้ศึกษาและจัดหมวดหมู่ไว้แตกต่างกันดังนี้คือ
สมสนิทสกุลธนะได้สรุปเนื้อหาของวารสารไว้9ส่วนคือ(สมสนิทสกุลธนะ2528:15-)
1.บทความวารสารบางฉบับมีบทความเป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อหา
2.นวนิยายและเรื่องสั้นพิมพ์เป็นตอนๆ บางฉบับเสนอนวนิยายเป็นเนื้อหาหลัก มีสารคดีและบทความเป็นเนื้อหารองวารสารที่ทำเป็นธุรกิจการค้าส่วนมากเสนอนวนิยายมากกว่าบทความสารคดีและข่าวสาร
3. ภาพ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพเขียน หรือภาพวาด เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของวารสารทุกฉบับและทุกประเภท
4.ข่าวมักใช้เป็นองค์ประกอบของวารสารทุกชิด
5. คอลัมน์บรรณาธิการ เป็นส่วนสำคัญของวารสารประเภทแสดงความคิดเห็นและวารสารของทางบริษัท ห้างร้านองค์การธุรกิจต่างๆ
6. คอลัมน์ต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญของวารสาร เช่น จดหมายถึงบรรณาธิการ อาหาร แฟชั่น สุขภาพ ฯลฯ
7. คำประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นส่วนที่แสดงออกทางความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของมนุษย์ที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันของทุกชาติทุกภาษา
8. การ์ตูนและขำขัน เป็นเนื้อหาอย่างหนึ่งของวารสารแทบทุกชนิด ซึ่งช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดของผู้อ่านได้อย่างดี
9. เบ็ดเตล็ดและเรื่องแทรก จะช่วยให้การจัดหน้า เช่น ปริศนา อักษรไขว้ เกมต่างๆ การทายปัญหา ความรู้รอบตัว เป็นต้น
วิษณุ สุวรรณเพิ่ม จัดเนื้อหาของวารสารเป็นคอลัมน์ประเภทต่างๆ 10 ประเภทคือ (วิษณุ สุวรรณเพิ่ม 2521 : 280-282)
1. คอลัมน์วิจารณ์ เสนอข้อโต้แย้ง ตำหนิ ชมเชย และชี้แนวทางของเหตุการณ์ หรือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว วิจารณ์ข้อดีข้อเสีย และให้เหตุผลตามที่ข้อมูลที่ได้รับมา
2. คอลัมน์ซุบซิบ รายงานเกี่ยวกับความเป็นไปของบุคคล ทั้งบุคคลสำคัญในรัฐบาลและบุคคลในอาชีพต่างๆ เช่นในวงการกีฬา นักร้อง นักแสดง นักการเมือง เป็นต้น
3. คอลัมน์แนะแนว เช่นการแนะแนวการศึกษา การเกษตร กฏหมาย สุขภาพอนามัย งานอดิเรก เป็นต้น
4. คอลัมน์บริการ เปิดบริการแก่ประชาชนในเรื่องเดือดร้อนต่างๆ
5. คอลัมน์ร้อยกรอง สำหรับกวีอาชีพและสมัครเล่น เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
6. คอลัมน์ขำขัน เพื่อให้ผู้อ่านมีอารมณ์ขบขัน เบาสมอง บางฉบับมีภาพการ์ตูนประกอบ
7. คอลัมน์ความเรียง มีเนื้อหากว้างมาก เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ การค้นพบ การประดิษฐ์ ฯลฯ โดยเขียนเป็นเรียงความจะเรื่องสั้นหรือเรื่องยาวขึ้นอยู่กับเรื่องที่นำมาลง ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาการ เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น
8. คอลัมน์บุคคล เสนอเรื่องราวของบุคคลต่างๆ ที่มีชื่อเสียง บุคคลที่เป็นข่าวให้ผู้อ่านได้ทราบประวัติ ประสบการณ์ ผลงานและภาระกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวันทั้งในอดีตและในปัจจุบันและอนาคต
9. คอลัมน์แสดงความคิดเห็น ชี้ข้อดีข้อเสียของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเอง
10. คอลัมน์เบ็ดเตล็ด เสนอเรื่องราวทั่ว ๆไป เช่น รายงานข่าว วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวซุบซิบ ประกาศ สุนทรพจน์ สุภาษิต ฯลฯ โดยทั่วไปจะเกี่ยวกับบุคคลมากที่สุด ข่าวและสิ่งต่างๆ จะเป็นเรื่องลงมา


เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้กำหนดส่วนประกอบของเนื้อหาในวารสารไว้ 3 ส่วน คือ (พีระ จิรโสภณ 2533 : 212-217)
1. คอลัมน์ประจำ เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาสาระแนวเดียวกัน ต่อเนื่องกันหลายฉบับ
2. บทความในคอลัมน์ประจำ เป็นคอลัมน์ที่เปิดไว้สำหรับเสนอบทความ เรื่องราวตามแนววัตถุประสงค์ของวารสาร
3. เรื่องทั่วๆ ไป เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น แนะนำการท่องเที่ยว และโบราณคดี เป็นต้น องค์ประกอบส่วนนี้จะช่วยให้วารสารได้รับความนิยมจากผู้อ่านได้ไม่น้อย
จากเนื้อหาของวารสารที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า โดยทั่วๆ ไปวารสารมีเนื้อหาประกอบด้วยบทความที่ให้ความรู้ การวิจารณ์แสดงความคิดเห็น ข่าว เรื่องที่ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ขำขัน การ์ตูน ฯลฯ ประกาศ โฆษณา เป็นต้น วารสารฉบับใดจะมีเนื้อหาส่วนใดมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของวารสารฉบับนั้นๆ
วัตถุประสงค์ของวารสารในการจัดทำวารสารออกเผยแพร่ ผู้จัดทำย่อมมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งอาจระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ระบุไว้ก็ได้ จากการศึกษาของ พิมอัจฉรา ปวนะฤทธิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 สรุปวัตถุประสงค์ในการจัดทำวารสารของสถาบันอุดมศึกษาได้ 8 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ (พิมอัจฉรา ปวนะฤทธิ์ 2528 : 426-427 )
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวความคิด ทฤษฎี หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งความรู้ เกี่ยวกับหน่วยงานและการดำเนินงานบริการชุมชนต่างๆ ในรูปของบทความผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือบทคัดย่อผลงานต่างๆ ข้อคิดเห็น ประกาศ คำสั่ง และระเบียบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาหาความรู้ของบุคคลในแขนงต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป และเพื่อชื่อเสียงของหน่วยงานผู้จัดทำ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งให้นักวิชาการ นักศึกษาและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาได้พิมพ์ผลงานในสาขาวิชาการต่างๆออกเผยแพร่
2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการแขนงต่างๆ โดยการกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า พัฒนาความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาการ ให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาค้นคว้าให้ศาสตร์นั้นๆ เจริญรุดหน้ายิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของสถาบัน
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด เจตคติ และประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการ สถาบันการศึกษาและบุคคลทั่วๆไป
4. เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างหน่วยงานกับบุคคลภายใน ระหว่างบุคคลภายในและภายนอกสถาบัน หรือระหว่างนักศึกษาเก่าของสถาบัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเสนอข่าวความเคลื่อนไหวทั้งเรื่องของบุคคลและกิจกรรมของหน่วยงาน
5. เพื่อการฝึกงานภาคปฏิบัติของนักศึกษา เช่น วารสารนกยูงทองของคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาเช่นใช้อ่านประกอบวิชาที่กำลังศึกษาใช้อ้างในการศึกษาค้นคว้าเป็นต้น
7. เพื่อความบันเทิง ในวารสารบางฉบับ นอกจากเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้ทางวิชาการ แล้วยังมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านอีกด้วย
8. วารสารที่ไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ไว้ในเล่ม วัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของวารสารวิชาการ ซึ่งสรุปได้ว่า ส่วนใหญ่เน้นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยน การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ข่าวสารการประชา-สัมพันธ์และอาจจะมีวัตถุประสงค์มุ่งให้ความบันเทิงบ้างก็ได้ ตรงกันข้ามกับนิตยสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่เน้นต่างกัน กล่าวคือ นิตยสารส่วนใหญ่เป็นการจัดทำขึ้น เพื่อหวังผลในทางธุรกิจ ต้องการให้มีผู้อ่านเป็นจำนวนมากและให้ติดตามอ่านกันเป็นประจำ นิตยสารจึงมีวัตถุประสงค์เน้นให้ความบันเทิง ให้ความรู้ทั่วไป และเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นหลัก ส่วนการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังนั้นนิตยสารส่วนใหญ่จึงจัดทำอย่างสวยงาม มีภาพสวยงามเป็นจำนวนมากประกอบเนื้อหา เพื่อเรียกร้องความสนใจ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

ประวัติความเป็นมาของวารสาร
วารสาร ตามลักษณะที่เป็นวารสารตามความหมายที่เข้าใจกันในปัจจุบัน เชื่อว่าพิมพ์ขึ้นครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า The Gentlemen's Magazine ในปี พ.ศ. 2274 ภายหลังที่อังกฤษมีหนังสือพิมพ์ถึง 56 ปี ส่วนในสหรัฐอเมริกามีวารสารครั้งแรก ใน พ.ศ.2284 ที่เมือง ฟิลาเดล เฟีย มีชื่อว่า American Magazine ซึ่งมีขึ้นภายหลังการเกิดหนังสือพิมพ์ในอเมริกาถึง15ปี(วราวุธผลานันต์2536:67-69)
ความเป็นมาของวารสารในประเทศไทย จากการศึกษาของ วีระวรรณ ประกอบผล พบว่า วารสารไทยมีความเป็นมาโดยสรุปดังนี้คือ(วีระวรรณประกอบผล2526:444หน้า)
1. วารสารไทยมีขึ้นครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2387 โดย แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารี ชาวอเมริกัน ชื่อ "Bangkok Recorder" และในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2401 ออกหนังสือ"ราชกิจจานุเบกษา" แต่วารสารในสมัยแรกเริ่มยังไม่มีลักษณะเป็นวารสารเท่าใดนัก และพิมพ์เผยแพร่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั้งพ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีวารสารไทยฉบับแรก ที่ออกโดยคนไทยคือ วารสาร ดรุโณวาท ออกโดยพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
2. จำนวนวารสารในสมัยต่างๆ มีดังนี้คือ สมัยรัชกาลที่ 3 มี 2 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 4 มี 8 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 5 มี 47 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 6 มี 127 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 7 มี 160 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 8 มี 92 ฉบับ สมัยรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า1,200ฉบับ
3. ลักษณะของวารสารสมัยต่างๆ แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ของประเทศ วารสารในสมัยแรกๆ คือช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 วารสารมีลักษณะเป็นหนังสือเล่ม ขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเรียกว่าจดหมายเหตุ หรือหนังสือข่าว ซึ่งพวกนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นวารสารทั้งสิ้น กลุ่มที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ก็มีลักษณะคล้ายกันคือ มีวารสารรายสัปดาห์จำนวนมากเรียกตัวเองว่า หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
4. วารสารสมัยแรกๆ เป็นกิจการของเจ้านายชั้นสูง ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่สามัญชนมากขึ้น จนกระทั้งถึงปัจจุบันมีวารสารที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการของสื่อสารมวลชนคือสื่อมวลชนมีจุดเริ่มต้นจากชนชั้นสูงพัฒนาไปเป็นสื่อสำหรับมวลชน และพัฒนามาเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะด้านมากขึ้น
5. อายุของวารสารในระยะแรก มักมีอายุไม่ยืนยาว วาสารบางประเภทที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เช่น วารสารเด็ก วารสารผู้หญิง แต่ไม่ค่อยได้รับความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายได้แพร่หลาย ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 2 ปี วารสารต่างๆ เกิดขึ้นตามสภาพทางสังคม เช่น วาสารด้านบันเทิง เริ่มมีในปลายรัชกาลที่ 6 เพราะความนิยมในละครและภาพยนตร์
6. วารสารได้ขยายตัวเพิ่มปริมาณขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบันการดำเนินงานด้านวารสารของเอกชนเป็นลักษณะของธุรกิจเต็มตัวมีการโฆษณาสินค้าจำนวนมาก
7. บทบาทหน้าที่ของวารสารไทยเปลี่ยนแปลง มา 3 ระยะคือ ระยะแรกมุ่งให้ความรู้และเพิ่มพูนสติปัญญาแก่ผู้อ่าน มีเรื่องบันเทิงและบริการทางธุรกิจเพียงเล็กน้อย ระยะที่สอง ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นการให้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ระยะที่สาม วารสารเป็นแนวให้ความบันเทิงเริงรมย์ จนถึงปัจจุบันมีลักษณะเป็นแหล่งสารสนเทศให้ความบันเทิงและให้ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3



Magazine Gallery มุมสำหรับคนรักนิตยสาร

ศูนย์กลางแหล่งความรู้และสร้างรากฐานที่มั่งคงส่งเสริมการรักการอ่านของ สังคมไทย
หลังจากที่สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2548 ด้วยวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดทำนิตยสารของไทยให้มีคุณภาพทัด เทียมกับต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 40 บริษัท โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานสัมมนาหรือการจัดนิทรรศการซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมา โดยตลอด

ล่าสุด สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย (The Magazine Association of Thailand : TMAT) ได้จัดแถลงข่าวเปิด โครงการ Magazine Gallery ศูนย์กลางแหล่งความรู้และสร้างรากฐานที่มั่งคงส่งเสริมการรักการอ่านให้เกิด ขึ้นในสังคมไทย พร้อมสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในวงการนิตยสารเมืองไทย โดยเนรมิตลานกว้างบนชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นศูนย์รวมนิตยสารมากกว่า 120 รายการในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งความรู้ของผู้รักการอ่าน โดยมี วิลักษณ์ โหลทอง เลขาธิการกิตติมศักดิ์ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย เปิดงาน และเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้-มิ.ย.2554

Magazine Gallery ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการแห่งความภาคภูมิใจที่ทางสมาคมได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญในการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้รับประโยชน์จากการอ่านนิตยสารในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแนว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนิสัยการรักการอ่านพร้อมทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์อีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การค้าสยามพารากอน, บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด (SCG), บริษัท สุนทรฟิล์ม จำกัด และบริษัท แอล จี อิเล็กทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด

พร้อมกันนั้นทางสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทยยังได้มอบรางวัลพิเศษ The Most Popular Magazine Cover ให้กับนายแบบและนางแบบที่ขึ้นปกนิตยสารและได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดระยะ เวลา 3 ปี นับตั้งแต่สมาคมจัดตั้งขึ้น โดยมี ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นายกสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย และประธานสหพันธ์นิตยสารแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่ฝ่ายหญิงซึ่ง ได้แก่ หมิว-ลลิตา ศศิประภา, พอลล่า เทย์เลอร์ และแพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ นอกจากนี้ ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ยังขึ้นมอบรางวัลฝ่ายชาย ซึ่งได้แก่ เคน-ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์, อั้ม-อธิชาติ ชุมนานนท์ และมาริโอ้ เมาเร่อ

สำหรับผู้สนใจโครงการ Magazine Gallery นอกจากจะได้รับความรู้จากการอ่านนิตยสารแล้วยังได้รับสาระและความบันเทิงจาก กิจกรรมต่างๆ ที่ทางผู้ผลิตนิตยสารจัดขึ้น อาทิเช่น การเปิดตัวนิตยสาร หนังสือ พอคเก็ตบุ๊คเล่มใหม่ และการพูดคุยกับนักเขียนชื่อดังของเมืองไทย รวมถึงการเข้าไปหาความบันเทิงจากนิตยสารจำนวนนับร้อยหัว เป็นต้น
Magazine Gallery จะกลายเป็นสถานที่เชื่อมโยงและเป็นจุดนัดพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ก่อให้เกิดมุมมอง ความคิดสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดีในการเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งจะพัฒนาในเยาวชนคนรุ่นใหม่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพในอนาคต พร้อมกันนั้นทางสมาคมยังเชื่อมั่นว่าโครงการ Magazine Gallery จะได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ผู้สนใจสามารถเข้าชมโครงการ Magazine Gallery ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 บริเวณลานกว้างหน้าร้าน ASIA BOOKS ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดให้เข้าชมและใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2552-มิ.ย.2554
ที่มา ARTgazine Articles

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ 2

ความหมายของMagazine
ความหมายของนิตยสาร นิตยสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่มีการกำหนดออกที่แน่นอน ภายในเล่มมีการบรรจุเนื้อหาที่มีความหลากหลายในแง่รายละเอียด และวิธีการเขียน ซึ่งนิตยสารแต่ละฉบับยังมีส่วนผสมของงานเขียนที่มีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละฉบับอีกด้วย

ประเภทของนิตยสาร การจัดแบ่งประเภทของนิตยสารอาจแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ นิตยสารที่ออกโดยเอกชน หรือบริษัทธุรกิจการพิมพ์ต่าง ๆ และนิตยสารที่ออกโดยหน่วยราชการสมาคมวิชาชีพหรือสถาบัน ที่มิได้มุ่งผู้อ่านทั่วไป

1. นิตยสารที่ออกโดยเอกชน หรือบริษัทธุรกิจการพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนิตยสารเพื่อผู้บริโภคโดยทั่วไป (Consumer Magazines) ทำขึ้นเพื่อจัดจำหน่ายโดยทำเป็นธุรกิจที่หวังผลกำไร มีการหารายได้จากการรับลงโฆษณาเป็นหลัก

2. นิตยสารที่ออกโดยหน่วยราชการสมาคมวิชาชีพ หรือสถาบันที่มิได้มุ่งผู้อ่านทั่วไป นิตยสารหรืออาจเรียกตามความนิยมว่า “วารสาร” ประเภทนี้ อาจมีวิธีการเผยแพร่โดยการให้เปล่าหรือจะใช้วิธีขายก็ได้ เป็นนิตยสารที่มุ่งกลุ่มผู้อ่านเฉพาะ

1. นิตยสารเพื่อผู้บริโภค (Consumer Magazines)นิตยสารเพื่อผู้บริโภคสามารถแบ่งหมวดหมู่ย่อย ๆ โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ คือ วัตถุประสงค์ของนิตยสาร แนวเนื้อหา และกลุ่มผู้อ่านได้

2. นิตยสารหรือวารสาร ที่ออกโดยหน่วยราชการ สมาคมวิชาชีพ และสถาบันต่างๆ นิตยสารกลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดย่อย ๆ ดังนี้

2.1 นิตยสารหรือวารสารที่ออกโดยหน่วยราชการ คณะกรรมการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น นิตยสาร “พระสยาม” ของธนาคารแห่งประเทศไทย

2.2 นิตยสารหรือวารสารวิชาการ / กึ่งวิชาการ ซึ่งจัดทำโดยสมาคม องค์กรสถาบันการศึกษา กลุ่มหรือบริษัทต่างๆที่มุ่งผู้อ่านเฉพาะ เช่น “วารสารคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ” ของ ยูเนสโก

2.3 นิตยสารหรือวารสารที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท ห้างร้าน หรือสมาคมต่าง ๆ เป็นนิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ เช่น วารสาร “บ้านฟ้า” ของบริษัท เอ็น ซี กรุ๊ป

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1

อี แมกกาซีน คืออะไร ?
e-Magazine คือแมกกาซีน หรือนิตยสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับ e-Book ที่คุณสามารถเปิดอ่านจากคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS X และ Linux

จุดเด่นของ e-Magazine คือการออกแบบมาให้แสดงเนื้อหาต่างๆ ได้คล้ายคลึงกับการอ่านนิตยสารที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม ทั้งตัวอักษร, ข้อความ,และรูปภาพ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงหรืออาจจะมีภาพเคลื่อนไหว หรือวีดีโออยู่ในแมกกาซีนเหล่านั้นด้วย สำหรับการเปิดหน้าหรือเลื่อนหน้า ด้วยเทคโนโลยีจิตอลอันทันสมัย e-Magazine ทำให้ท่านเปิดหน้าในรูปแบบ 3D จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของท่านได้เสมือนหนึ่งท่านกำลังเปิดหนังสืออยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีเครื่องมือต่าง ๆที่ช่วยคุณภายในแมกกาซีนอีกด้วย เช่น ค้นหาข้อมูลจากเนื้อหาภายในเล่ม และสามารถเลื่อนไปยังหน้าที่ต้องการอ่านได้ทันที สามารถย่อขยายการแสดงผลทั้งตัวอักษรและภาพ เพื่อให้อ่านได้ง่าย และสบายตาขึ้น สามารถกำหนด URLs ให้คลิกเพื่อเปิดไปหน้าเว็บเพจต่างๆ เช่นเว็บไซต์ที่เกี่ยงข้องกับเนื้อหา ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ของผู้ให้การสนับสนุน รวมถึงการพิมพ์หน้าที่ต้องการได้อีกด้วย

ไม่ เพียงเท่านั้น ภายในตัว e-Magazine ยังมาพร้อมกับความสามารถในการแนะนำ e-Magzine แก่บุคคลอื่นๆ เช่น เพื่อน ญาติพี่น้อง องค์กร จากบุคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย ผ่านช่องทางที่เตรียมไว้ให้ในตัวอี แมกกาซีน เช่นการส่งผ่านอีเมล, การนำข้อมูลไปแสดงในบล็อก, การส่งผ่านแมสเซส การแนะนำผ่าน Social, Bookmark ฯลฯ ช่วยให้ e-Magazine กระจายไปยังผู้อ่านทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สิ่งเสพติด

สิ่งเสพติด หรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"

ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ