วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งาน E-journal

http://www.mediafire.com/?383xy2guvnyorj4

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

ประเภทของนิตยสาร (Magazine)มี2ประเภท

คือนิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine) และผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)


นิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine)คือ
นิตยสารข่าว (New Magazine)

   เป็นนิตยสารที่นำเสนอเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับข่าวทั่วๆไป เช่นนำเสนอเบื้องหลังข่าว บทวิเคราะห์ข่าว บทสัมภาษณ์บุคคลในข่าว เป็นต้น จะมีเนื้อหาด้านอื่นบ้าง เช่น ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม ก็เป็นเพียงประกอบเข้ามาเพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
   ตัวอย่างนิตยสารข่าวได้แก่ มติชนสุดสัปดาห์ เนชั่นสุดสัปดาห์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เป็นต้น

นิตยสารสำหรับครอบครัว (Family Magazine)
   เป็นนิตยสารเพื่อครอบครัว มีบทความเกี่ยวกับการมีชีวิตในครอบครัวให้มีความสุข มีบทความเสริมความงาม การทำครัว งานอดิเรก กีฬา การ์ตูน ตอบปัญหา ดาราภาพยนตร์ นักร้อง เป็นต้น ลักษณะเด่นที่สามารถแบ่งนิตยสารสำหรับครอบครัวออกจากนิตยสารสตรีก็คือ จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่เด็กและพ่อบ้านอ่านได้ด้วยในเล่มเดียวกัน กล่าวคือ อ่านกันได้ทั้งครอบครัว ตัวอย่างนิตยสารสำหรับครอบครัว ได้แก่ รักลูก แม่และเด็ก ดวงใจพ่อแม่ และ Life Family


นิตยสารสำหรับสตรี (Women Magazine)
   เป็นนิตยสารสำหรับผู้หญิงทุกกลุ่มทุกอาชีพในเล่มจะประกอบด้วย ภาพ นวนิยาย เรื่องสั้น แฟชั่น ตำราอาหาร เป็นต้น นิตยสารสำหรับสตรีจัดเป็นนิตยสารที่ม ีจำนวนชื่อฉบับมาก ที่สุด ในตลาดนิตยสารไทยในปัจจุบันนี้ตัวอย่างนิตยสารสำหรับสตร ี ได้แก่ คุณหญิง ผู้หญิง ดิฉัน พลอยแกมเพชร สกุลไทยแพรวสุดสัปดาห์ เปรียว กุลสตรี ขวัญเรือน แม่บ้าน และศรีสยาม เป็นต้น


นิตยสารสำหรับเด็ก (Children Magazine)
    เป็นนิตยสารสำหรับเด็กๆทั่วไป ประกอบด้วยเรื่องเกร็ดความรู้ เรื่องตลก นิทาน กีฬา เป็นต้นตัวอย่างนิตยสารสำหรับเด็ก ได้แก่ เสียงเด็ก สวนเด็ก ชัยพฤกษ์การ์ตูน เป็นต้น


ผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)
นิตยสารการเมือง (Political Magazine)


   เป็นนิตยสารเจาะลึกทางด้านการเมือง มีบทวิเคราะห์ หรือรายงานพิเศษ (Scoop) ที่เจาะลึกทางการเมืองมากกว่านิตยสารข่าว ตัวอย่างนิตยสารทางการเมือง เช่น มติชนสุดสัปดาห์ เนชั่นสุดสัปดาห์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ หลักไท และอาทิตย์วิเคราะห์ เป็นต้น


นิตยสารแฟน (Fan Magazine)
   เป็นนิตยสารสำหรับแฟนทางกีฬา ทางบันเทิง ทางภาพยนตร์ หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง ตัวอย่างของนิตยสารแฟนในไทย เช่น "RS Star" ของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด ที่แจกจ่ายให้กับสมาชิกของอาร์เอส สตาร์ คลับ
   ความหมายของคำว่า "แฟน" มาจากภาษาอังกฤษ ว่า "Fatanic" หมายถึง คนที่คลั่งไคล้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ นิตยสารแฟนมักจัดพิมพ์ขึ้นและเผยแพร่ไปยังกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายที่เรียกว่า "แฟนคลับ"(Fan Club) เช่น นักร้อง นักแสดง นักกีฬา เป็นต้น นิตยสารแฟนมักนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวบุคคลมากกว่าเนื้อหาสาระอื่นๆในวงการนั้นๆ


นิตยสารงานอดิเรก (Hobbies and Pastime Magazine)
  นิตยสารพวกนี้ออกมาเพื่อผู้อ่านเฉพาะกลุ่มที่ชอบงานอดิเรกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นนิตยสารที่เพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในระหว่างกลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้แก่ นิตยสารเกี่ยวกับแสตมป เล่นเรือใบ ทำสวน ถ่ายภาพ รถจักรยานยนต์ และสร้างวิทยุ เป็นต้น นิตยสารที่ให้สาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นิตยสาร Update เป็นต้น


นิตยสารอาชีพ (Trade and Professional Magazine)
    นิตยสารอาชีพมีความแตกต่างจากนิตยสารงานอดิเรก เช่น นิตยสารเกี่ยวกับรถยนต์ ถ้าเป็นนิตยสารอาชีพก็จะกล่าวถึงอุตสาหกรรมสร้างรถยนต์ แต่ถ้าเป็นนิตยสารงานอดิเรกจะแนะนำผู้เล่นรถยนต์ให้รู้จักการรักษารถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างรถยนต์หรือซ่อมรถยนต์ ตลอดจนผู้ขายรถยนต์

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

นิตยสาร
นิตยสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ หรือรายประจำที่ไม่ใช่รายวัน มีการเย็บเล่มใช้ปกอ่อนกระดาษปกมักจะมีคุณภาพและความคงทนต่อการใช้งานมากกว่ากระดาษเนื้อในเนื้อหาภายในเล่มมีควาหลากหลายให้ความรู้ทางวิชาการและบันเทิงใช้สีสันและภาพประกอบเป็นจำนวนมากมีโฆษณาภายในฉบับการออกแบบจัดหน้านิตยสารจะใช้ความพิถีพิถันในการจัดทำมากกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น โดยนิยมใช้สีสันและภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจและเร้าอารมณ์ของผู้พบเห็น
นิตยสารมีรายได้หลักจากการโฆษณาและการจัดจำหน่ายการจัดทำจะเน้นผลการค้าเป็นสำคัญ
ความเป็นมาของนิตยสาร
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" นั้นโดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ "วารสาร " มีความหมายที่กว้างกว่า
เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน
นิตยสารทุกเล่ม จะต้องขออนุญาตจัดพิมพ์จากทางราชการ และได้รับหมายเลขสากลประจำนิตยสาร เรียกว่า ISSN (International Standard Serial Number) ซึ่งนิตยสารจะตีพิมพ์ไว้ในส่วนที่เห็นชัดของเล่ม เช่น ปกหน้า สารบัญ สันปก หรือปกหลัง
นิตยสารแต่ละชื่อ จะมีแนวเนื้อหาเฉพาะของตนเอง เช่น แนวศิลปะ บันเทิง แฟชั่น รถยนต์ ท่องเที่ยว เป็นต้น การเขียนบทความในนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม
นิตยสารฉบับแรกของคนไทย
นิตยสารฉบับแรกของคนไทย นั้นคือ ดรุโณวาท ของพระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ ออกในระหว่างปี พ.ศ. 2411 -2418 เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชการบ้าง เรื่องต่างประเทศบ้างมีสุภาษิตสอนใจ บทกวี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทละคร นิทาน รวมทั้งแจ้งความโฆษณาสินค้าด้วย


ประเภทของนิตยสาร

การแบ่งประเภทนิตยสารตามลักษณะเนื้อหาที่เน้นการนำเสนอและผู้อ่านให้ความสนใจการแบ่งในลักษณะนี้มักแบ่ง แยกย่อยเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ นิตยสารกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (general Magazine) และผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม (specialized magazine)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

่ลักษณะของวารสาร
จากความหมายดังกล่าว วารสาร จึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องตามกำหนดหรือ ออกตามวาระ สามารถนำมาพิจารณากำหนดเป็นลักษณะของวารสารได้ดังนี้
1. เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Periodical or Serial) มีกำหนดเวลาออก แน่นอนระยะเวลาที่นิยมกำหนดออก เช่น (วราวุธผลานันต์2536:5-6)
-รายสัปดาห์(Weekly)กำหนดออกสัปดาห์ละครั้งปีละ52ฉบับ
-รายปักษ์(Fortnightly)กำหนดออกทุก2สัปดาห์ปีละ26ฉบับ
-รายครึ่งเดือน(Semimonthly)กำหนดออกเดือนละ2ครั้งปีละ24ฉบับ
-รายเดือน(monthly)กำหนดออกเดือนละครั้งปีละ12ฉบับ
-รายหกเดือนหรือรายครึ่งปี(Semiannually)กำหนดออกทุก6เดือน
-รายปี(Annually)กำหนดออกปีละฉบับ
นอกจากนี้บางฉบับอาจมีการกำหนดระยะเวลาออกที่แตกต่างออกไปจากที่กล่าวมาแล้วเช่นรายครึ่งสัปดาห์ (Semiweekly) กำหนดออกสัปดาห์ละ 2 ฉบับ ปีละ 104 ฉบับ รายทศกำหนดออกทุก 10 วัน ปีละ 36 ฉบับ และรายสะดวกมีกำหนดออกไม่แน่นอนลักษณะความต่อเนื่องของวารสารไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงในฉบับใด
2. มีเลขกำกับประจำฉบับ ได้แก่ เลขปีที่ (Volume) เลขฉบับที่ ( Issue Number) และวัน เดือน ปี (Date) การนับลำดับฉบับที่อาจนับเป็นปีๆ เช่น วารสารรายเดือน แต่ละปีจะมีตั้งแต่ฉบับที่ 1-12 หรืออาจนับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่นวารสารรายเดือน ฉบับแรกของปีที่ 2 ก็นับเป็นฉบับที่ 13 นอกจากเลขปีที่ ฉบับที่ และวันเดือนปี ซึ่งเป็นเลขที่ต้องต่อเนื่องเป็นลำดับกันไปแล้วยังมีเลขอีกชุดหนึ่งเป็นเลขเฉพาะที่แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงถือเป็นรหัสประจำวารสารแต่ละชื่อ เพื่อการควบคุมทางบรรณานุกรม ในระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ เรียกว่า เลขสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number-ISSN) ซึ่งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับสากล มอบให้ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติ ประจำประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นผู้กำหนดให้แก่วารสารแต่ละชื่อในประเทศของตน สำหรับประเทศไทยมีหอสมุดแห่งชาติ เป็นศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดวารสารแต่ละชื่อให้ได้รับหมายเลขสากลประจำวารสาร และจะต้องพิมพ์ไว้ที่หน้าปกหรือหน้าปกใน หรือสันวารสารใกล้ ๆ กับชื่อวารสาร มีอักษร ISSN ตามด้วยเลข อารบิค 8 ตัว มีเครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่าง เลข 4ตัวแรกกับเลข4ตัวหลังเช่นวารสารซีเนแม็กISSN0858-9305
3. รูปเล่ม มักทำให้มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกันทุกฉบับ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตและจำได้ง่าย เช่น ขนาดความกว้างยาวรูปแบบและสีของตัวอักษรชื่อวารสารที่หน้าปกและสัญลักษณ์ประจำวารสาร
4. เนื้อหา ประกอบด้วยบทความหลายบทความ จากผู้เขียนหลาย ๆ คน ถ้าเป็นวารสารมักจะเป็นวิชาการเฉพาะแขนงวิชา ถ้าเป็นนิตยสารมักจะมีบทความทั่ว ๆ ไป สารคดี หรือบันเทิง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ลงติดต่อกันเป็นหลายๆ มีคอลัมน์บรรณาธิการ คอลัมน์ประจำ วารสารบางชื่อเนื้อหาอาจเป็นรูปภาพ เป็นบทวิจารณ์ สรุปข่าวและวิเคราะห์เหตุการณ์บ้านเมืองฯลฯทั้งนี้เป็นไปตามประเภทและวัตุประสงค์ของวารสารแต่ละฉบับ
5. ผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์วารสารอาจเป็นเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบัน องค์การ สมาคม ชมรม โดยมีวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ประชา-สัมพันธ์หน่วยงาน ให้ความบันเทิง ความรู้ทั่วไปหรือเพื่อธุรกิจการค้าเป็นต้น
6. การเผยแพร่ มีทั้งการจำหน่ายและแจกฟรี การจำหน่ายอาจวางจำหน่ายตามร้านขายหนังสือ การให้ผู้อ่านบอกรับเป็นสมาชิกประจำค่าวารสารล่วงหน้าแล้วผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ส่งวารสารไปให้สมาชิก
คำศัพท์ที่นิยมใช้เรียกวารสารในลักษณะต่างๆ รวบรวมได้ 9 คำ ดังนี้ ( วราวุธ ผลานันต์ 2536 : 7-8)
1.Periodicalเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทุกชนิดทุกประเภท
2.Serialหมายถึงสิ่งพิมพ์เข้าชุดหนังสือเข้าชุด
3.Journalหมายถึงวารสารที่สถาบันองค์กรสมาคมหรือหน่วยงานทางวิชาการจัดพิมพ์ขึ้น
4.Magazineหมายถึงวารสารทั่วไป
5.Bulletinหมายถึงวารสารของหน่วยงานราชการหรือเอกชน
6.Gazetteหมายถึงวารสารทางราชการ
7.Proceedingเป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมเรื่องราวและผลการศึกษา
8.Transactionหมายถึงสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมบทความสุนทรพจน์สาระสังเขปของบทความทางวิชาการ
9.AnnualorAnnalหมายถึงวารสารรายปี
ประเภทของวารสาร
1.แบ่งตามแหล่งที่ออกวารสาร(สมาคม)
1.1วารสารสมาคมและสถาบันวิชาการและวิชาชีพ
1.2วารสารประชาสัมพันธ์(HouseJournal)
-วารสารประชาสัมพันธ์ภายนอกหน่วยงาน
-วารสารประชาสัมพันธ์ภายใน
1.3วารสารของหน่วยงานเอกชนซึ่งพิมพ์เพื่อการค้า
-วารสารซึ่งลงข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลต้นเรื่องพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ทางการค้า
-วารสารเทคนิคและการค้า
-วารสารซึ่งควบคุมยอดจำหน่าย
2.แบ่งตามลักษณะของผู้อ่าน
-วารสารสำหรับอ่านทั่วไป
-วารสารสำหรับอ่านเฉพาะกลุ่ม
3.แบ่งตามข้อมูลตามวารสาร
-วารสารซึ่งลงข้อมูลต้นเรื่อง
-วารสารซึ่งลงข้อมูลรอง
4.แบ่งตามกลุ่มวิชาใหญ่ๆ
5.แบ่งตามกำหนดออก
นอกจากนี้หากจะแบ่งประเภทวารสารทั่วไปอย่างคร่าวๆสามารถแบ่งออกได้3ประเภทคือ
1.วารสารวิชาการ
2.วารสารกึ่งวิชาการ
3.วารสารบันเทิง

วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ลักษณะเนื้อหาแตกต่างจากสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆคือ
มีเนื้อหา หลายลักษณะ หลายเรื่องรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน การจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาในวารสาร มีผู้ศึกษาและจัดหมวดหมู่ไว้แตกต่างกันดังนี้คือ
สมสนิทสกุลธนะได้สรุปเนื้อหาของวารสารไว้9ส่วนคือ(สมสนิทสกุลธนะ2528:15-)
1.บทความวารสารบางฉบับมีบทความเป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อหา
2.นวนิยายและเรื่องสั้นพิมพ์เป็นตอนๆ บางฉบับเสนอนวนิยายเป็นเนื้อหาหลัก มีสารคดีและบทความเป็นเนื้อหารองวารสารที่ทำเป็นธุรกิจการค้าส่วนมากเสนอนวนิยายมากกว่าบทความสารคดีและข่าวสาร
3. ภาพ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพเขียน หรือภาพวาด เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของวารสารทุกฉบับและทุกประเภท
4.ข่าวมักใช้เป็นองค์ประกอบของวารสารทุกชิด
5. คอลัมน์บรรณาธิการ เป็นส่วนสำคัญของวารสารประเภทแสดงความคิดเห็นและวารสารของทางบริษัท ห้างร้านองค์การธุรกิจต่างๆ
6. คอลัมน์ต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญของวารสาร เช่น จดหมายถึงบรรณาธิการ อาหาร แฟชั่น สุขภาพ ฯลฯ
7. คำประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นส่วนที่แสดงออกทางความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของมนุษย์ที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันของทุกชาติทุกภาษา
8. การ์ตูนและขำขัน เป็นเนื้อหาอย่างหนึ่งของวารสารแทบทุกชนิด ซึ่งช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดของผู้อ่านได้อย่างดี
9. เบ็ดเตล็ดและเรื่องแทรก จะช่วยให้การจัดหน้า เช่น ปริศนา อักษรไขว้ เกมต่างๆ การทายปัญหา ความรู้รอบตัว เป็นต้น
วิษณุ สุวรรณเพิ่ม จัดเนื้อหาของวารสารเป็นคอลัมน์ประเภทต่างๆ 10 ประเภทคือ (วิษณุ สุวรรณเพิ่ม 2521 : 280-282)
1. คอลัมน์วิจารณ์ เสนอข้อโต้แย้ง ตำหนิ ชมเชย และชี้แนวทางของเหตุการณ์ หรือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว วิจารณ์ข้อดีข้อเสีย และให้เหตุผลตามที่ข้อมูลที่ได้รับมา
2. คอลัมน์ซุบซิบ รายงานเกี่ยวกับความเป็นไปของบุคคล ทั้งบุคคลสำคัญในรัฐบาลและบุคคลในอาชีพต่างๆ เช่นในวงการกีฬา นักร้อง นักแสดง นักการเมือง เป็นต้น
3. คอลัมน์แนะแนว เช่นการแนะแนวการศึกษา การเกษตร กฏหมาย สุขภาพอนามัย งานอดิเรก เป็นต้น
4. คอลัมน์บริการ เปิดบริการแก่ประชาชนในเรื่องเดือดร้อนต่างๆ
5. คอลัมน์ร้อยกรอง สำหรับกวีอาชีพและสมัครเล่น เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
6. คอลัมน์ขำขัน เพื่อให้ผู้อ่านมีอารมณ์ขบขัน เบาสมอง บางฉบับมีภาพการ์ตูนประกอบ
7. คอลัมน์ความเรียง มีเนื้อหากว้างมาก เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ การค้นพบ การประดิษฐ์ ฯลฯ โดยเขียนเป็นเรียงความจะเรื่องสั้นหรือเรื่องยาวขึ้นอยู่กับเรื่องที่นำมาลง ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาการ เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น
8. คอลัมน์บุคคล เสนอเรื่องราวของบุคคลต่างๆ ที่มีชื่อเสียง บุคคลที่เป็นข่าวให้ผู้อ่านได้ทราบประวัติ ประสบการณ์ ผลงานและภาระกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวันทั้งในอดีตและในปัจจุบันและอนาคต
9. คอลัมน์แสดงความคิดเห็น ชี้ข้อดีข้อเสียของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเอง
10. คอลัมน์เบ็ดเตล็ด เสนอเรื่องราวทั่ว ๆไป เช่น รายงานข่าว วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวซุบซิบ ประกาศ สุนทรพจน์ สุภาษิต ฯลฯ โดยทั่วไปจะเกี่ยวกับบุคคลมากที่สุด ข่าวและสิ่งต่างๆ จะเป็นเรื่องลงมา


เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้กำหนดส่วนประกอบของเนื้อหาในวารสารไว้ 3 ส่วน คือ (พีระ จิรโสภณ 2533 : 212-217)
1. คอลัมน์ประจำ เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาสาระแนวเดียวกัน ต่อเนื่องกันหลายฉบับ
2. บทความในคอลัมน์ประจำ เป็นคอลัมน์ที่เปิดไว้สำหรับเสนอบทความ เรื่องราวตามแนววัตถุประสงค์ของวารสาร
3. เรื่องทั่วๆ ไป เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น แนะนำการท่องเที่ยว และโบราณคดี เป็นต้น องค์ประกอบส่วนนี้จะช่วยให้วารสารได้รับความนิยมจากผู้อ่านได้ไม่น้อย
จากเนื้อหาของวารสารที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า โดยทั่วๆ ไปวารสารมีเนื้อหาประกอบด้วยบทความที่ให้ความรู้ การวิจารณ์แสดงความคิดเห็น ข่าว เรื่องที่ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ขำขัน การ์ตูน ฯลฯ ประกาศ โฆษณา เป็นต้น วารสารฉบับใดจะมีเนื้อหาส่วนใดมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของวารสารฉบับนั้นๆ
วัตถุประสงค์ของวารสารในการจัดทำวารสารออกเผยแพร่ ผู้จัดทำย่อมมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งอาจระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ระบุไว้ก็ได้ จากการศึกษาของ พิมอัจฉรา ปวนะฤทธิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 สรุปวัตถุประสงค์ในการจัดทำวารสารของสถาบันอุดมศึกษาได้ 8 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ (พิมอัจฉรา ปวนะฤทธิ์ 2528 : 426-427 )
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวความคิด ทฤษฎี หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งความรู้ เกี่ยวกับหน่วยงานและการดำเนินงานบริการชุมชนต่างๆ ในรูปของบทความผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือบทคัดย่อผลงานต่างๆ ข้อคิดเห็น ประกาศ คำสั่ง และระเบียบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาหาความรู้ของบุคคลในแขนงต่าง ๆ และบุคคลทั่วไป และเพื่อชื่อเสียงของหน่วยงานผู้จัดทำ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งให้นักวิชาการ นักศึกษาและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาได้พิมพ์ผลงานในสาขาวิชาการต่างๆออกเผยแพร่
2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการแขนงต่างๆ โดยการกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า พัฒนาความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนติดตามความเคลื่อนไหวทางวิชาการ ให้ผู้สนใจได้นำไปศึกษาค้นคว้าให้ศาสตร์นั้นๆ เจริญรุดหน้ายิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของสถาบัน
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด เจตคติ และประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการ สถาบันการศึกษาและบุคคลทั่วๆไป
4. เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างหน่วยงานกับบุคคลภายใน ระหว่างบุคคลภายในและภายนอกสถาบัน หรือระหว่างนักศึกษาเก่าของสถาบัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเสนอข่าวความเคลื่อนไหวทั้งเรื่องของบุคคลและกิจกรรมของหน่วยงาน
5. เพื่อการฝึกงานภาคปฏิบัติของนักศึกษา เช่น วารสารนกยูงทองของคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาเช่นใช้อ่านประกอบวิชาที่กำลังศึกษาใช้อ้างในการศึกษาค้นคว้าเป็นต้น
7. เพื่อความบันเทิง ในวารสารบางฉบับ นอกจากเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้ทางวิชาการ แล้วยังมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านอีกด้วย
8. วารสารที่ไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ไว้ในเล่ม วัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของวารสารวิชาการ ซึ่งสรุปได้ว่า ส่วนใหญ่เน้นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยน การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ข่าวสารการประชา-สัมพันธ์และอาจจะมีวัตถุประสงค์มุ่งให้ความบันเทิงบ้างก็ได้ ตรงกันข้ามกับนิตยสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่เน้นต่างกัน กล่าวคือ นิตยสารส่วนใหญ่เป็นการจัดทำขึ้น เพื่อหวังผลในทางธุรกิจ ต้องการให้มีผู้อ่านเป็นจำนวนมากและให้ติดตามอ่านกันเป็นประจำ นิตยสารจึงมีวัตถุประสงค์เน้นให้ความบันเทิง ให้ความรู้ทั่วไป และเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นหลัก ส่วนการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังนั้นนิตยสารส่วนใหญ่จึงจัดทำอย่างสวยงาม มีภาพสวยงามเป็นจำนวนมากประกอบเนื้อหา เพื่อเรียกร้องความสนใจ